เมนู

เพราะดำรงอยู่ จึงยินดีพร้อม เพราะยินดีพร้อม จึงไม่สะดุ้ง เมื่อ
ไม่สะดุ้ง ย่อมดับรอบเฉพาะตนเท่านั้น ภิกษุนั้นย่อมทราบชัดว่า
ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำทำเสร็จแล้ว กิจอื่น
เพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี.
จบ อุปายสูตรที่ 1

อรรถกถาอุปายสูตรที่ 1



ในอุปายสูตรที่ 1 แห่งอุปายวรรคมีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-
บทว่า อุปาโย ได้แก่ เข้าถึงขันธ์ 5 ด้วยอำนาจ ตัณหา มานะ
และทิฏฐิ บทว่า วิญฺญาณํ ได้แก่ กรรมวิญญาณ (วิญญาณที่เกิดแต่
กรรม). บทว่า อาปชฺเชยฺย ได้แก่พึงให้กรรมย่อยยับไปแล้วถึง
ความเจริญเป็นต้นโดยความเป็นธรรมชาติสามารถรั้งปฏิสนธิมาได้.
เหตุในการไม่ถือเอาบทว่า วิญฺญาณูปายํ ท่านได้กล่าวไว้แล้วนั่นแล.
บทว่า โวจฺฉิชฺชตารมฺมฌํ ความว่า อารมณ์ย่อมขาดลง เพราะความ
ไม่สามารถรั้งปฏิสนธิมา. บทว่า ปติฏฺฐา วิญฺญาณสฺส ความว่า
กรรมวิญญาณย่อมไม่มีที่ตั้งอาศัย. บทว่า ตทปฺปติฏฺฐิตํ ตัดบทเป็น
ตํ อปฺปติฏฺฐิตํ. บทว่า อนภิสํขจฺจ วิมุตฺตํ ความว่า ไม่ปรุงแต่งปฏิสนธิ
หลุดพ้นไป.
จบ อรรถกถาอุปายสูตรที่ 1

2. พีชสูตร



ว่าด้วยอุปมาวิญญาณด้วยพืช



[106] กรุงสาวัตถี. พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อน
ภิกษุทั้งหลาย พืช 5 อย่างนี้ 5 อย่างเป็นไฉน คือ พืชงอกจากเหง้า 1

พืชงอกจากลำต้น 1 พืชงอกจากข้อ 1 พืชงอกจากยอด 1 พืชงอกจาก
เมล็ด 1 ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็พืช 5 อย่างนี้ มิได้ถูกทำลาย ไม่เน่า
ไม่ถูกลมแดดทำให้เสีย ยังเพาะขึ้น อันบุคคลเก็บไว้ดี แต่ไม่มีดิน
ไม่มีน้ำ พืช 5 อย่าง พึงถึงความเจริญงอกงามไพบูลย์ได้หรือ ?
ภิกษุเหล่านั้นกราบทูลว่า ข้อนั้นไม่ได้ พระพุทธเจ้าข้า.
พ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พืช 5 อย่างนี้ มิได้ถูกทำลาย ฯลฯ
อันบุคคลเก็บไว้ดี และมีดิน มีน้ำ พืช 5 อย่างนี้ พึงถึงความเจริญ
งอกงามไพบูลย์ได้หรือ ?
ภิ. ได้ พระพุทธเจ้าข้า.
[107] พ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายพึงเห็นวิญญาณ
ฐิติ 4 เหมือนปฐวีธาตุ พึงเห็นความกำหนัดด้วยอำนาจความเพลิน
เหมือนอาโปธาตุ พึงเห็นวิญญาณพร้อมด้วยอาหาร เหมือนพืช 5 อย่าง
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย วิญญาณที่เข้าถึงรูปก็ดี เมื่อตั้งอยู่ พึงตั้งอยู่
วิญญาณที่มีรูปเป็นอารมณ์ มีรูปเป็นที่ตั้ง มีความยินดีเป็นที่เข้าไป
ซ่องเสพ พึงถึงความเจริญงอกงามไพบูลย์ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
วิญญาณที่เข้าถึงเวทนาก็ดี ฯลฯ วิญญาณที่เข้าถึงสัญญาก็ดี ฯลฯ
วิญญาณที่เข้าถึงสังขารก็ดี เมื่อตั้งอยู่ พึงตั้งอยู่ วิญญาณที่มีสังขาร
เป็นอารมณ์ มีสังขารเป็นที่ตั้ง มีความยินดีเป็นที่เข้าไปซ่องเสพ
พึงถึงความเจริญงอกงามไพบูลย์ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ผู้ใดพึงกล่าว
อย่างนี้ว่า เราจักบัญญัติการมา การไป จุติ อุปบัติ หรือความเจริญ
งอกงามไพบูลย์แห่งวิญญาณ เว้นจากรูป เวทนา สัญญา สังขาร
ข้อนี้ไม่เป็นฐานะที่จะมีได้ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ถ้าความกำหนัดใน
รูปธาตุ ในเวทนาธาตุ ในสัญญาธาตุ ในสังขารธาตุ ในวิญญาณธาตุ

เป็นอันภิกษุละได้แล้วไซร้ เพราะละความกำหนัดเสียได้ อารมณ์ย่อม
ขาดสูญ ที่ตั้งแห่งวิญญาณย่อมไม่มี วิญญาณอันไม่มีที่ตั้งนั้น ไม่งอกงาม
ไม่แต่งปฏิสนธิ หลุดพ้นไป เพราะหลุดพ้นไป จึงดำรงอยู่ เพราะดำรงอยู่
จึงยินดีพร้อม เพราะยินดีพร้อม จึงไม่สะดุ้ง เมื่อไม่สะดุ้ง ย่อมดับรอบ
เฉพาะตนเท่านั้น เธอย่อมเธอทราบชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์
อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี.
จบ พีชสูตรที่ 2

อรรถกถาพีชสูตรที่ 2



ในพีชสูตรที่ 2 มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-
บทว่า พีชชาตานิ ได้แก่ พืชทั้งหลาย. บทว่า มูลพีชํ ได้แก่
พืชเกิดแต่ราก มีว่านน้ำ ว่านเปราะ ขมิ้น ขิง เป็นต้น. บทว่า ขนฺธพีชํ
ได้แก่ พืชเกิดแต่ลำต้น มีต้นโพธิ ต้นไทรเป็นต้น. บทว่า ผลุพีชํ ได้แก่
พืชเกิดแต่ข้อ มี อ้อย ไม้ไผ่ ไม้อ้อ เป็นต้น. บทว่า อคฺคพีชํ ได้แก่ พืช
เกิดแต่ยอด มีผักบุ้ง แมงลัก เป็นต้น. บทว่า พีชพีชํ ได้แก่ พืชเกิดแต่เมล็ด
คือปุพพัณณชาตมีสาลีและข้าวเจ้าเป็นต้น และอปรัณณชาตมี
ถั่วเขียวและถั่วราชมาส เป็นต้น. บทว่า อกฺขณฺฑานิ ได้แก่ ไม่แตก
ตั้งแต่เวลาที่พืชแตกแล้ว ย่อมไม่สำเร็จประโยชน์แก่พืช. บทว่า
อปูติกานิ ได้แก่ ไม่เน่าเพราะชุ่มด้วยน้ำ. จริงอยู่. พืชที่เน่า ย่อมไม่สำเร็จ
ประโยชน์แก่พืช. บทว่า อวาตาตปปฺปตานิ ความว่า ไม่ถูกลมและ
แดดกราด ปราศจากธุลี ไม่เปียกชุ่ม จริงอยู่ พืชที่เป็นกากไม่มีธุลี
ย่อมไม่สำเร็จประโยชน์แก่พืช. บทว่า สาราทานิ ได้แก่ พืชที่มีสาระ
คือที่มีแก่นอยู่แล้ว จริงอยู่พืชที่ไม่มีแก่น ย่อมไม่สำเร็จประโยชน์แก่พืช.